หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม

ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation)

ชื่อ – นามสกุล : นายตันติกร ศิรกฤตธนสาร

1.หัวข้อดุษฎีนิพนธ์เรื่อง : วิเคราะห์ประเด็นปัญหาความขัดแย้ง มูลเหตุของปัญหา และความสอดคล้องของแนวทางไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในงานก่อสร้าง ที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการสัญญาจ้างเหมาโครงการก่อสร้าง

2.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา : งานโครงก่อสร้างในปัจจุบันมีความซับซ้อน ขนาดใหญ่ และมีความเสี่ยงสูงขึ้น ความล้มเหลวของโครงการก่อสร้างมีสาเหตุจากระบบการบริหารที่ขาดความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค วิธีการแก้ไขปัญหา การออกแบบที่ผิดพลาด และสัญญาที่ไม่ชัดเจน ในหลายโครงการประสบปัญหาการฟ้องร้อง ไม่ว่าโครงการจะสำเร็จหรือไม่ประสบความสำเร็จ อาจมีฟ้องร้องภายหลัง ซึ่งการฟ้องร้องเป็นคดีความภายหลังซึ่งข้อพิพาทในงานก่อสร้างมักเป็นปัญหาสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องไม่อยากให้เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน เพราะทำให้งานก่อสร้างล่าช้า และไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งกระทบต่อเวลา งบประมาณ และคุณภาพของโครงการ

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่าปัญหาการบริหารสัญญา ส่งผลกระทบต่อการบริหารสัญญา ก่อสร้าง เช่น ปัญหาขอบเขตงานที่ไม่ชัดเจน ปัญหา การตีความสัญญา ปัญหาการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้ว่าจ้าง ปัญหาการเปลี่ยนแปลงงงานลด-งานเพิ่ม ปัญหาค่าใช้จ่ายเกินงบประมาณ ปัญหาการเรียกร้องค่าจ้าง ปัญหาการเรียกร้องขอคืน ค่าปรับ ปัญหาการติดต่อสื่อสารและประสานงาน ปัญหาการใช้วัสดุไม่ถูกต้องตามข้อกำหนด ที่ระบุใน สัญญา ปัญหาผู้รับจ้างไม่ปรับปรุงการดําเนินงาน ปัญหาการตรวจรับและอนุมัติ ปัญหาผู้รับจ้างส่งงานล่าช้า ไม่แล้วเสร็จตามงวดสัญญา ปัญหาการแก้ไข ข้อพิพาทและความขัดแย้งที่ไม่เหมาะสม และปัญหา การบอกเลิกสัญญา

ถึงแม้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ อาจกำหนดข้อสัญญาเพื่อควบคุมและป้องข้อพิพาทหรือเพื่อกำหนดวิธียุติข้อพิพาท เช่น ข้อสัญญาที่เกี่ยวของกับ อนุญาโตตุลาการเพื่อใช้แก้ปัญหาหรือยุติกรณีพิพาทไว้ก็ตาม แต่อย่างไรเมื่อเกิดข้อพิพาทแล้ว ข้อพิพาทจะก่อให้เกิดดังนั้นจึงควรมีการศึกษาถึงลักษณะและสาเหตุของข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในงานก่อสร้าง เพื่อหาแนวทางป้องกันและลดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะ งานก่อสร้างภาคเอกชล

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นเพื่อศึกษาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาความขัดแย้ง มูลเหตุของปัญหาและแนวทางไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในงานก่อสร้าง ที่มีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการสัญญาจ้างเหมาโครงการก่อสร้าง

3.วัตถุประสงค์ของการศึกษา :

  1. เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการลดปัญหาความขัดแย้ง และข้อพิพาท ระหว่างผู้เกี่ยวข้องในงานก่อสร้าง
  2. เพื่อจัดกลุ่มวิเคราะห์แก้ไขมูลเหตุปัจจัยที่มีผลต่อข้อพิพาท
  3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาความขัดแย้ง มูลเหตุของปัญหาและความสอดคล้องของแนวทางไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในงานก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการสัญญาจ้างเหมาโครงการก่อสร้าง

อ้างอิง : บทคัดย่อ คดีความงานก่อสร้าง คณะวิศกรรมรามคำแหง 2019 , การประชุมวิชาการแห่งชาติ ครั้งที่ 16
การศึกษาข้อพิพาทในงานก่อสร้างของหน่วยงานภาครัฐ( จเรวัต สาริชีวิน , ถาวร ธีรเวชญาน ,กองกูณฑ์ โตชัยวัฒน์ )
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

4.การทบทวนวรรณกรรม :

5.กรอบแนวความคิด :

6.ระเบียบวิธีการศึกษา / วิจัย :

งานวิจัยนี้ สามารถอธิบายเป็นขั้นตอนการดำเนินงาน ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย โดยภาพรวม ของงานวิจัยสามารถแบ่งได้เป็น 9 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1. ศึกษาวรรณกรรมและงานวิจัยที่ผ่านมา ในประเด็นที่เกี่ยวกับความขัดแย้ง ข้อพิพาท สาเหตุ แนวทางแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโครงการก่อสร้าง ทั้งที่เกิดในประเทศไทยและสากล
ขั้นตอนที่ 2 รวบรวมคดีข้อพิพาทที่ได้ ประมาณ 40-50 ข้อความประมวลเป็นแบบสอบถาม
ขั้นตอนที่ 3 คัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ (Experts) 7 ท่าน เพื่อตรวจสอบชุดข้อความคิว ผู้วิจัยนำข้อมูลมาหาความเห็นร่วมจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง โดยเริ่มจากผู้เชี่ยวชาญท่านที่ 1, 2,..,7 แล้วเวียนกลับไปผู้เชี่ยวชาญท่านที่ 1 อีกที ผู้วิจัยส่ง คำถามให้ผู้เชี่ยวชาญท่านละ 3 รอบ เว้นระยะเวลาห่างกันพอควร จนในที่สุด ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 7 ท่าน มีความเห็นตรงกัน ผลสรุปปัจจัยที่ได้ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจะถูกนำไปสร้างแบบสัมภาษณ์เพื่อใช้ในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่ 4 ประเมินข้อความ และออกแบบแบบสัมภาษณ์ ที่ใช้เก็บข้อมูล
ขั้นตอนที่ 5 ติดต่อและคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก (P-set) ที่เคยมีประสบการณ์เกิดข้อพิพาทมาแล้ว โดยแบ่งเป็น กลุ่มผู้รับเหมา 7 คน และกลุ่มเจ้าของโครงการ 7 คน (Barry & Proops, 1999) โดยคัดเลือกจาก พื้นที่ภาคกลาง
ขั้นตอนที่ 6 สัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก (P-set) ในประเด็นข้อพิพาทในโครงการก่อสร้างที่เคยม ประสบการณ์ และจัดแยกข้อความ (Q-sorting)
ขั้นตอนที่ 7 วิเคราะห์มลูเหตุข้อพิพาท
ขั้นตอนที่ 8 ตีความผลการวิจัยและทำการสังเคราะห์กลุ่มปัจจัย
ขั้นตอนที่ 9 สร้างกลยุทธ์แนวทางในการแก้ปัญหาข้อพิพาทในแต่ละมูลเหตุตามลำดับความสำคัญ ในโครงการก่อสร้าง

7.ขอบเขตของการศึกษา :

มุ่งศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความสอดคล้องแนวทางในการไก่ลเกลี่ยข้อพิพาท และผลกระทบจากการบริหารสัญญาก่อสร้าง ก่อนเริ่มโครงการระหว่างก่อสร้าง การทำ สัญญา แ ล ะ ล ง น า ม (Contract award and contract signing) การส่งมอบก่อนก่อสร้าง (Preconstruction submittals) การประชุมขั้นตอนการทำงาน (Procedural meeting) การแจ้งผู้รับจ้างบจ้างเข้าปฎิบัติงาน (Notice proceed) การ ประชุมระดมแรงงานเครื่องจักรเข้าหน้างาน (Site mobilizationmeeting) การเตรียมงานก่อสร้าง (Preparation site) การสังเกตการณ์และตรวจหน้างาน (Site visits, observation, and inspection) การประกัน คุณภาพและการควบคุมคุณภาพ (Quality assurance and Quality control) การดําเนินงานตามสัญญา (Executing the work) การประชุมประสานงาน (Co- ordinate meeting) การประชุมความก้าวหน้าโครงการ (Progressmeeting)การส่งมอบงาน (Construction submittals) การพิจารณาการส่งมอบงาน (Submittals review) การตรวจรับงานและทดสอบระบบ (Testing andinspection)การประเมินวดั ผลงานและเบิกจ่ายงวด งาน (Measurement and payment) การประชุมส่งมอบ โครงการ (Closeout meeting) การส่งมอบงานงวด สุดท้าย (Closeout final submittals) การพิจารณาการ ส่งมอบโครงการ (final submittals review) การตรวจ รับงานและทดสอบระบบโครงการ (Final testing and inspection) การประเมินวัดผลงานและเบิกจ่าย โครงการ (Final measurement and payment) การ ประเมินโครงการ (Facility evaluation) การจัดทํา บทเรียน (Lessons learned) การบริการหลังส่งมอบ โครงการ (Postconstruction service) การดําเนินการ หลงั ส่งมอบโครงการ (Operation) การบำรุงรักษาหลงั ส่งมอบโครงการ (Maintenance)

จัดทำรายงานเกี่ยวกับ การศึกษาปัญหาการบริหารสัญญาที่ส่งผลกระทบต่อ ระยะเวลาโครงการ ค่าใช้จ่ายโครงการ และคุณภาพ ของโครงการ เนื่องจากปัญหาแต่ละปัญหาการบริหาร สัญญาที่สําคัญมีผลกระทบในแต่ละด้านที่แตกต่างกันการศึกษานี้ต้องประเมินปัญหาการบริหารสัญญาสําคัญที่มีผลกระทบต่อโครงการก่อสร้าง

8.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :

  1. ทำให้เข้าใจและประยุกต์แนวคิด กลยุทธ์แนวทางในการลดปัญหาความขัดแย้ง และข้อพิพาท ระหว่างผู้เกี่ยวข้องในงานก่อสร้าง
  2. ทำให้เข้าใจเนื้อหา และจัดกลุ่มวิเคราะห์แก้ไขมูลเหตุปัจจัยที่มีผลต่อข้อพิพาท
  3. ทำให้เข้าใจ สังเคราะห์ประเด็นปัญหาความขัดแย้ง มูลเหตุของปัญหาและความสอดคล้องของแนวทางไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในงานก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการสัญญาจ้างเหมาโครงการก่อสร้าง